อุดรธานี

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

 

อนุเสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

statue1.jpg (23120 bytes)

 

 

               ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี        พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดา สังวาลย์   ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช 2399    ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ เรียกว่า มณฑลอุดรในสมัยต่อมา ระหว่าง     ร.ศ . 112-118     
                ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้นเมื่อ ร.ศ 112 ทรงจัดวาง ระเบียบ ราชการปกครองบ้านเมืองและรับราชการ ในหน้าที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งอำนวย ประโยชน์สุขแก่ราษฎรนานัปการ     อนุสาวรีย์พระองค์ท่าน   จึงนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดรธานี ตราบเท่าทุกวันนี้

 

ศาลหลักเมืองอุดรธานี

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานีเป็นที่เคารพศักการะของชาวจังหวัดอุดรธานี

 

พิพิธพัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

อยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
              ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็น นิทรรศการถาวรซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน
              ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของ   บ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ฉายภาพนิ่งและการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทางไปจากตังจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร   ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225  อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
 

 

หนองประจักษ์ศิลปาคม

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของตัวเมือง บริเวณตัวเกาะกลางน้ำไจัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดและทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวน เด็กเล่น

 

 

วัดบ้านตาด

 

 

 ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด   เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (อุดร-ขอนแก่น)   ถึงบริเวณสี่แยกบ้านดงเค็งแล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร  ถึงบริเวณวัด สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพงคอนกรีต    มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่  อยู่บริเวณด้านหน้าของวัด การจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน ในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า    วัดบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัว   ญาณสัมปันโน           พระอาจารย์วิปัสสนา สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภายในวัดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่  ต้องการไปปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ

 

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงตาบัว)

 

   ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน หรือ ” หลวงตาของเรา” ถือกำเนิดในครอบครัว ชาวนาผู้มีอันจะกิน แห่งสกุล “โลหิตดี” ณ  ตำบลบ้านตาดอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2456 โดยมีบิดา ” นายทองดี” และมารดา “นางแพง” ได้ให้มงคลนามว่า “บัว” ในจำนวน  พี่น้องทั้งหมด 16 คน เฉพาะที่ยังมี ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน 6 คน เว้นท่านเสีย เป็นชาย 1 คน หญิง 5 คน มีท่านเพียงผู้เดียว ที่ดำรงอยู่ในสมณเพศ และกอปรด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม    ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม อันประเสริฐ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวพุทธเรา อย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกประเทศ 

                 ท่านอาจารย์บวชที่วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (ชุม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม  2477
พระเถระผู้ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์สอนท่านปฏิบัติคือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ชมมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ   บางเขน   กรุงเทพมหานคร

 

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

 

 

ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนาถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีแยกเข้าหนองสำโรง และมีป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทย ซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้าและผสมพันธุ์ถึง 10 ปีเศษ ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine พันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกัน ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. (042) 242475

 

วัดโพธิสมภรณ์

ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดที่สร้างในสมัย รัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5

 

วัดมัชฌิมาวาส

วัดมัชฌิมาวาส ตั้ง อยู่ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง เดิมเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชาวบ้านิยมเรียกว่าวัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัด มีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่  ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อนาค”   เป็นที่เคารพสักการะ ของชาวอุดรธานีมาก   ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม   ได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า “วัดมัชฌิมาวาส”

 

 

ศาลเจ้าปู่-ย่า

ศาลเจ้าปู่ย่า เทพเจ้าแห่งความเมตตา ได้รับกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์  แผ่ความเมตตาแก่คนยากไร้   ผู้ใดมีทุกข์โศก   มักจะไปจุดธูปขอให้ความทุกข์ที่มีอยู่สลายไป   หรือไปบนบานศาลกล่าวขอให้การค้าเจริญรุ่งเรืองและมักจะได้บารมีจากเทพเจ้าปู่ย่า  ดลบรรดาลให้สมหวังในสิ่งที่ขอ   บริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง   สร้างอย่างวิจิตรสวยงาม     อยู่ในเขตเทศบาลตามถนนนิตโยทางไปจังหวัดสกลนคร    ผ่านทางรถไฟแล้วเลี้ยวซ้าย
เข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร

 

 

 

 

หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น

 

 

 

อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ไป 16 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร

 

 

 

 

 

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า “บัวบก” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า “พระพุทธบาทบัวบก” หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

พระพุทธบาทหลังเต่าตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบังบก     มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน     ใจกลางพระบาท สลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ไกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า ๆ จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทหลังเต่า

              นอกจากนี้ยังมีถ้ำและเพิงหินต่างๆตั้งกระจ่ายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน  ถ้ำวัวแดง(ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน  และมนุษย์เหล่านี้ได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้เช่น  รูปคน  รูปมือ รูปสัตว์ และรูปเรขาคณิต) และมีลายหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้      นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลักพระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดีที่เพิงหินวัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย

พระพุทธบาทบัวบา

พระพุทธบาทบัวบาน ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง อันเก่าแก่ และมีการขุดค้นพบใบ
เสมาที่ทำด้วยหินเป็นจำนวนมาก ใบเสมาเหล่า นี้สลักเป็นรูปบุคคลศิลปะทวาราวดี

 

น้ำตกยูงทอ

 น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูงอำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอู   มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยงามมาก ท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพันธุ์น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตก-ขนาดเล็กมี 3 ชั้น     อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103  กิโลเมตร
การเดินทางจากตัวจังหวัดอุดรธานี   ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือและอำเภอน้ำโสม    เมื่อถึงอำเภอน้ำโสม จะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไป อีกประมาณ 17 กิโลเมตร  ก็จะถึงทางแยกวนอุทยาน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช .ตลอดสายและมีสภาพดี

 

อุทยานธารงาม

 

วนอุทยานน้ำตกธารงาม  วนอุทยานน้ำตกธารงาม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ ๗๘,๑๒๕ ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๗ ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี 

      จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงราย และซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้สามารถมองเห็นวิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ พรรณไม้ที่พบเห็นได้แก่ ประดู่ นนทรี ยาง กระบะตะเคียนทอง ตะเคียงเงิน และสัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมู่ป่า กระจง ค่าง อีเห็น

       สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงามไม่มีบ้านพักบริการสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง และควรติดต่อขออนุญาตก่อนล่วงหน้าได้ที่ หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงาม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายจัดการวนอุทยาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๒๙๒-๓ ต่อ ๗๑๙

       การเดินทาง ไปวนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสงประมาณ ๖ กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้ ๓ เส้นทาง ได้แก่

เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า-โคกลาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร

เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร

เส้นที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร  

 

เมืองคำชะโนด

 

ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย   ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวมกันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำจากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุทโธ   ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ในความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง  ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่าขานแก่ชาวเมืองคำชะโนด

 

 

                           การเดินทางจากอุดรธานีไปได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255    ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป        อ. บ้านดุง    ต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .
หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกป
ระมาณ 12 กม.

 

 

 วนอุทยาน ภูฝอยล

 

 

“ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม”ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่  ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ  จนทำให้ ”ฝอยลม”เริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่

 

 

 

พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน(วัดป่าภูก้อน)

 

วัดป่าภูก้อนตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นแผ่นดินรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากความดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของป่าไม้ธรรมชาติซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งจะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน
           โดยในปี พ.ศ.2527 ครอบครัวคุณโอฬารและคุณปิยวรรณ วีรวรรณ ได้เดินทางมาธุดงค์กรรมฐาน และเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่า ได้ช่วยเหลือด้านกฎหมายเป็นระเบียบของกรมป่าไม้ ให้วัดป่าสามารถอาศัยพื้นที่ป่าสงวนได้อย่างถูกต้อง ต่อมาท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย ได้เมตตาพาไปดูป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง แต่กำลังจะถูกสัมปทานตีตราตัดไม้ คณะศรัทธาจึงได้ตัดสินใจสร้างวัด โดยกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์ชาลี ถิรธัมโม (ปัจจุบันเป็นพระครูจิตตภาวนาญาณ) เป็นประธานและขวัญกำลังใจในการก่อสร้าง จนเป็นผลสำเร็จดังนี้

            วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม ภายในเนื้อที่ 15 ไร่
            วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้สร้างวัด 
            วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็น           “วัดป่าภูก้อน”
            วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เพื่อรักษาบริเวณวัดให้คงสภาพป่าอย่างสมบูรณ์ คณะศรัทธาจึงพยายามอย่างหนัก    ที่จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัดด้วย     จนในที่สุดได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ และได้รับขนานนาม

 

วัดนาหลวง (วัดภูย่าอู่) วัดนาหลวง (วัดภูย่าอู่)
(อภิญญาเทสิตธรรม) หรือวัดภูย่าอู่ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาหลวงหมู่ที่5ตำบลคำด้วง อำเภอบ้
านผือ

เป็นวัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานของจังหวัดอุดรธานี   ซึ่งหลังจากออกพรรษาแล้ว ก็จะมีหน่วยงานราฃการ

 

 องค์และกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา ที่สนใจในการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานเข้ามาขอเข้ารับการอบรม

 

เพื่อเรียนรู้และเข้าถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตลอดจนการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสงบสว่างในจิตใจ

 

เกิดความสุขสงบ มีสติสัมปชัญญะซึ่งหลวงปู่พระภาวนาวิสุทธาจารย์ประธานสงฆ์ ให้เมตตาต่อผู้เข้ารับการอบรม

 

และฝึกปฏิบัติ และมีพระครูภาวนาธรรมาภินันทเป็นเจ้าอาวาส ุ และตลอดเวลาที่เข้ารับการอบรม จะมีพระครู

 

 และพระพี่เลี้ยงค่อยให้คำแนะนำและเอาใจใส่ด้วยความเมตตา ปัจจุบันมีภิกษุอยู่จำพรรษา 111 รูป เณร 1 รูป

               การเดินทาง วัดนาหลวงอยู่ห่างจาก จังหวัดอุดรธานี 102  กิโลเมตรระยะทาง จากอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือ

 

52กิโลเมตร จากอำเภอบ้านผือ ถึงตำบล คำด้วง 23 กิโลเมตร    จากตำบลคำด้วง ถึง วัดนาหลวง 27 กิโลเมตร 

 

(เป็นทางลูกรัง และเป็นทางขึ้นเนินเขาบางตอน) สามารถไปมาได้โดยสะดวก

 

               กิจกรรมระหว่างเข้าพรรษา ทางวัดจะไม่รับจัดกิจกรรมอบรม   เนื่องจากพระภิกษุ ต้องปฏิบัติภารกิจ

 

ระหว่างจำพรรษา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยตื่นทำวัดเช้า เวลา 04.00 น. และปฏิบัติกิจจน 06.00 น.

 

และอาจมีการประชุม    จากนั้นเตรียมตักบาตร เวลา 09.30น. เวลา 16.00 น. ลงทำวัดเย็น และปฏิบัติธรรม

 

จนถึงเวลา 20.00 น. และช่วงเดือนสุดท้ายก่อนออกพรรษา การปฏิบัติของพระภิกษุก็จะเข้มข้นขึ้น

 

โดยจะเริ่มทำวัตรเช้าเวลา 03.30 น. และทำวัตรเย็นก็จะเริ่มเวลาเดิม และสิ้นสุด เวลา 22.00น. รวมทั้งมีการจัด

 

ให้พระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรมปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้น ทำให้การปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ของวัดนาหลวงเป็นที่น่าเลื่อมใส

 

และศรัทธาของประชาชนที่ได้พบเห็นและมีโอกาสได้เข้าไปทำบุญที่วัด

                และทุกวันพระที่2 ของทุกเดือนหลวงปู่พระภาวนาวิสุทธาจารย์ จะแสดงธรรมเทศสนา

 

โปรดญาติโยม ที่เข้ามาทำบุญ และทุกวัน หลวงปู่จะเปิดโอกาสให้ญาติโยมได้เข้าพบปะและสนทนาธรรม

 

ระหว่างเวลา 12.00- 13.00 น ที่กุฎิประธานสงฆ์บริเวณ ลานไทรคู่ เป็นที่น่าเสียดาย ว่าไทรใหญ่ต้นหนื่ง

 

ที่อยู่ด้านหน้าพระประธาน ได้หักล้มลง เมื่อคืนวันที่ 25 กันยายน 2549   จึงทำให้ในปัจจุบันคงเหลือต้นไทร

 

ในบริเวณลานไทรคู่เพียงต้นเดียว นี่เป็นสัจจะธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง หลวงปู่บอกว่าไทรต้นนี้

 

อายุประมาณ 420 ปี

 

 

วัดป่าบ้านค้อ

วัดป่าบ้านค้อ   ตั้งอยู่ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ

“พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ” เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528    มีเนื้อที่ 410 ไร่   ปัจจุบันมีเสนาสนะ

 

และสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย   ปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่า

 

 เหมาะแก่การปลีกวิเวก ของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรม   ในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน

 

จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำ จังหวัดอุดรธานี และ

 

ได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฆราวาส

 

ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ

         การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี – หนองคาย)


ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร – บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร

 

 

 


แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ 0-4225-0730 โทรสาร 0-4225-0731

 

 

 

 

 

 พระพุทธบารมี โลกาธิบดีดำรง

 

พระพุทธบารมี โลกาธิบดีดำรง

 

วัดโพธิ์ชัย ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

               ในมหามงคลสมัย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร จักรีนฤบดินทร

 

 สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร ทรงปกครองสยามรัฐสีมาอาณาจักรถ้วนถึง 50 พรรษา ในปี พุทธศักราช 2539

 

อันเป็นสิ่งประเสริฐสุด ที่มิเคยปรากฎมาแต่กาลก่อน แสดงถึงบุญญาธิการอันไพศาล ยังความปลาบปลื้มปิติโสมนัส

 

มาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ     เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนักในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

 

นายประจวบ ไชยสาส์น พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จังหวัดอุดรธานี และศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ รุ่นที่ 1

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   จึงได้ร่วมกันจัดสร้างพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ ปางขอฝน ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูง 12 เมตร

 

เพื่อถวายในพระพุทธบูชา โดยเสด็จพระราชกุศล   ซึ่งโครงการสร้างพระพุทธรูปนี้ ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้บรรจุโครงการร่วม

 

เฉลิมพระเกียรติ และให้ใช้ตราสัญลักษณ์สำหรับงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

 

                การก่อสร้างพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 โดยมีพระราชวิทยาคมเถระ

 

(หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) วัดบ้านไร่    เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ซึ่งการก่อสร้างดำเนินมาด้วยความเรียบร้อยจนใกล้สำเร็จ

 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า ” พระพุทธบารมี โลการธิบดีดำรง “

 

 (พระบารมีของพระพุทธองค์ดำรงอยู่ เป็นใหญ่ในโลก)      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน

 

 

 

ประกอบพิธีเบิกพระเนตร ” พระพุทธบารมี โลการธิบดีดำรง ” ในวันที่ 28 กันยายน พุทธศักราช 2542 (งบประมาณในการก่อสร้าง 10 ล้านบาท)

 

 

 

วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก)

 

ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกระหว่างถนนนเรศวร กับถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดป่าอีกวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง

ภายในวัดร่มรื่น มีเจดีย์องค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และรูปเหมือนหลวงปู่ถิร จิตธมโม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พร้อมเครื่องอัฐบริขาร

 

 เจดีย์นี้มีสัณฐานคล้ายทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุแต่ครั้งพุทธกาล   สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2544   ทุก ๆ ปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12

 

ตรงกับวันเกิดหลวงปู่จะมีการทอดกฐิน และการทำบุญฉลองอายุหลวงปู่ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น